ประวัติ ของ อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง

อ็องรี การ์ตีเย-แบรซงเกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2451 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ในครอบครัวชนชั้นกลางที่มีอันจะกิน มีชีวิตค่อนข้างสุขสบาย พ่อของเขาชอบร่างภาพเมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน และลุงของเขาชอบการวาดภาพสีน้ำมันเป็นชีวิตจิตใจ การ์ตีเย-แบรซงในวัยเยาว์จึงซึมซับศิลปะแขนงนี้ไว้ในใจ เขาเข้าสู่แวดวงศิลปะโดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบาศกนิยมและเหนือจริงตามลำดับ แต่ในที่สุด เขาได้เลือกการถ่ายภาพเป็นเครื่องมือในการแสดงออกวิธีและมุมมองต่อการมองโลกของเขา แต่การเข้าไปคลุกคลีอยู่กับศิลปินในช่วงเวลานี้เป็นเสมือนหนึ่งการวางรากฐานของศิลปะให้กับการถ่ายภาพที่อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง เอาจริงเอาจังในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2490 เขาได้ร่วมก่อตั้งเอเจนซีช่างภาพกับเพื่อนช่างภาพอีก 3 คน คือ โรเบิร์ต คาปา, เดวิด เซเมอร์, จอร์จ รอดเจอร์ เอเจนซีแห่งนี้มีส่วนปรับเปลี่ยนมาตรฐานใหม่ของการจ้างและลิขสิทธิ์ผลงานของช่างภาพ เป็นช่วงเวลาที่อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง รายงานสถานการณ์ต่าง ๆ ในฐานะช่างภาพอาชีพให้กับนิตยสารข่าวรายเดือนหลายฉบับ โดยมี Life, Paris Match และ Ce Soir (นิตยสารฝรั่งเศส)

พ.ศ. 2495 หนังสือรวมผลงานภาพชื่อ Image a la Sauvette (Street Photography) ของอ็องรี การ์ตีเย-แบรซง ได้รับการตีพิมพ์ในบทนำของหนังสือภาพเล่มนี้เขาได้เขียนถึงวิธีการและสิ่งที่เขายึดถือในการทำงานเอาไว้อย่างละเอียดจนกล่าวได้ว่ามันเป็นบทเรียนสำคัญที่ถ่ายทอดไว้ให้ช่างภาพรุ่นหลัง

ภาพถ่ายของ อ็องรีการ์ตีเย-แบรซง เป็นการทำงานที่ต้องอาศัยการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันของจิตใจ สายตาทักษะความชำนาญ การตอบสนองของสมองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สัญชาตญาณ สุนทรีศาสตร์ความรู้เรื่องบริบทของสังคมการเมือง โชค ความบังเอิญ การรอคอย และเลือกที่จะบันทึกมุมมองหนึ่ง ๆ ของตนโดยการตัดสินใจในเศษเสี้ยวของวินาที

อ็องรี การ์ตีเย-แบรซง เดินทางไปรอบโลก โดยเฉพาะในเอเชียที่เขาร่อนเร่ไปตามประเทศต่าง ๆ นานสามปี ตั้งแต่อินเดีย อินโดนีเซีย จีน โดยเข้าไปเป็นประจักษ์พยานต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองครั้งประวัติศาสตร์ในภูมิภาคนี้ ในอินเดียเขาเป็นช่างภาพคนสุดท้ายที่ได้สนทนาและบันทึกภาพมหาตมะ คานธี หนึ่งชั่วโมงก่อนถูกลอบสังหารในจีน

เขาเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีน ด้วยความเหมาะเจาะพอดีของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพโดยเฉพาะกล้องไลกาที่มีคุณภาพดีขนาดพอเหมาะพอดี ทำให้ง่ายต่อการทำงาน การเติบโตของนิตยสารภาพ การพัตนาทางวิชาชีพและช่างภาพที่มีความสามารถเป็นเลิศจำนวนหนึ่งโฟโตเจอร์นอลิสม์ จึงได้พบกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ